ARM CORPORATION
THE EXPERT OF SMART HOME SYSTEM
ผู้เชี่ยวชาญระบบอาคารอัจฉริยะ
Customer Service
086 322 8675

ความหมายของ Smart Home


ภาพจาก http://www.radiohannibal.com
          ท่านเคยได้ยินคำว่า "smart home" หรือ "smart building" หรือไม่? ซึ่งในภาษาไทยก็จะใช้คำว่า "บ้านอัจฉริยะ" หรือ "อาคารอัจฉริยะ" ซึ่งแตกต่างกับ "green building" (อาคารสีเขียว คืออาคารที่สร้างอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีการกำจัดของเสียหรือมลพิษต่าง ๆ ที่เกิดจากผู้อยู่อาศัยในอาคารก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก และมีการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้น้ำ ใช้ไฟ อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ หรืออาจมีการใช้พลังงานทดแทน เช่นแสงแดดหรือลมมาช่วยลดการใช้พลังงานในอาคาร คือมองในมุมของพลังงานและสิ่งแวดล้อม) ส่วน smart home หรือบ้านอัจฉริยะนั้น เราก็จะตีความคำว่าอัจฉริยะนั่นก็หมายถึงการนำระบบอัตโนมัติต่าง ๆ เข้ามาใช้ภายในบ้านเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความสะดวกสบาย รู้สึกปลอดภัย หรือช่วยประหยัดพลังงานได้ เพียงเท่านั้น ซึ่งยังคลาดเคลื่อนกับความหมายจริง

ความหมายของ Smart Home ของคนไทย

          ซึ่งการจะเป็นบ้านอัจฉริยะ ความหมายในบ้านเราที่ใช้กันนั้น มีความหมายที่กว้างคืออาจจะเป็นบ้านที่มีระบบอัตโนมัติเล็ก ๆ ที่เรียกว่า user control(ผู้อยู่อาศัยสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของบ้านให้ตอบสนองความต้องการของตนได้ด้วยตัวของผู้อยู่อาศัยเอง) จนไปถึงระบบอัตโนมัติที่เต็มรูปแบบที่เรียกว่า rule-based control คือบ้านจะมีระบบควบคุมที่สามารถตรวจจับค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ภายในบ้านแล้วทำการปรับเปลี่ยนหรือตอบสนองต่อความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้โดยอัตโนมัติ(ซึ่งระบบที่เต็มรูปแบบนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของงานวิจัยซึ่งบริษัทหลาย ๆ แห่งในต่างประเทศได้เซตห้องแลปขึ้นเพื่อทำการวิจัยด้านนี้โดยเฉพาะ) นั่นคือเราเข้าใจว่าหากบ้านของเรามีระบบอัตโนมัติแค่นิด ๆ หน่อย ๆ เราก็ถือว่าบ้านของเราเป็นบ้านอัจฉริยะแล้ว เช่นอาจมีระบบประตูอัตโนมัติ หรือมีระบบรีโมทช่วยควบคุมการเปิดปิดอุปกรณ์ทุกอย่าง หรือเพียงติดตั้งกล้องวงจรปิดก็คิดว่าบ้านของเรานี่เป็น smart home แล้ว ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ลวกหยาบเกินไป


ภาพจาก http://nutihouse.com

ความหมายของ smart home ที่เป็นสากลทั่วโลก

          ปี 2003 Housing Learning & Improvement Network ได้ตีพิมพ์คำจำกัดความของ smart home ซึ่งถูกนำเสนอโดย Intertek ว่าหมายถึง การรวมโครงข่ายการสื่อสาร(communication network) ของที่อยู่อาศัยรวมเข้าด้วยกันเพื่อเชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า การบริการ การตรวจตราดูแล รวมทั้งสามารถเข้าถึงการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้(โดยการควบคุมอาจหมายถึงการควบคุมทั้งที่เกิดจากทั้งภายในที่อยู่อาศัยเองหรือถูกควบคุมจากภายนอกก็ได้) นั่นคือบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่จะเรียกว่าบ้านอัจฉริยะหรือ smart home จะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการคือ

          1. มี Smart Home Network คือระบบพื้นฐานของ smart home อาจเป็นการเดินสายหรือไร้สายก็ได้ ประกอบด้วย
               1.1 Power line System(X10) เป็น protocol ที่ใช้สื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบ home automation ถูกพัฒนาการอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟหลักได้โดยตรง เป็นระบบที่ง่ายในการ config ทำงานได้เร็วและราคาถูก โดยข้อเสียหลัก ๆ ของระบบนี้คือการรบกวนค่อนข้างมาก
               1.2 Bus line(EIB,Cebus) ใช้สาย 12volt แยกออกมา(ตีเกลียว) เพื่อรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ เป็นอิสระจากแหล่งจ่ายไฟ เพื่อป้องกันการรบกวน
               1.3 Radio frequency(RF) และ Infrared(IR) system เป็นระบบที่ใช้กันมาก ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักใช้ระบบนี้ในอุปกรณ์ smart home แต่ระบนี้ก็ยังมีปัญหาอันเกิดจากการรบกวนสัญญาณและระยะทางในการส่งสัญญาณ

          2. มี Intelligent Control System คือ ระบบการควบคุมระบบอัจฉริยะที่มีความชาญฉลาด
               2.1 เป็นเสมือนสะพานเชื่อมต่อระหว่างเทคโนโลยีที่แตกต่างกันของุปกรณ์ภายในบ้าน
               2.2 เป็นเสมือน gateway เพื่อเชื่อมต่อกับบริการที่อยู่ภายนอกบ้าน

          3. มี Home Automation Device คือ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ เช่น
               3.1 smart refrigerator คือ ตู้เย็นอัจฉริยะสามารถบอกได้ว่ามีอาหารอะไรกี่อย่างอยู่ภายในตู้เย็น อีกทั้งยังบอกได้ว่าอาหารจะหมดอายุเมื่อไหร่
               3.2 smart sofa คือโซฟาที่สามารถปรับความอ่อนแข็งได้ตามสรีระและความพอใจของแต่ล่ะคน
               3.3 smart bathroom คือห้องน้ำอัจฉริยะ ที่สามารถควบคุมอุณภูมิ เสียง แสง และกลิ่นภายในห้องน้ำได้
               3.4 smart door คือประตูอัตโนมัติ ที่สามารถตรวจจับใบหน้าของสมาชิกภายในบ้ายแล้วทำการเปิดปิดเองโดยอัตโนมัติ
               3.5 smart remote คือรีโมทที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหมด
               3.6 security system คือระบบรักษาความปลอดภัยที่ไม่ใช่เป็นเพียงกล้องที่บันทึกเหตุเท่านั้น แต่ยังมีเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว และไซเรนเพื่อส่งเสียงในการระงับเหตุ
               3.7 robot ปัจจุบันได้มีการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ภายในบ้านเช่น หุ่นยนต์ดูดฝุ่น หุ่นยนต์ให้อาหารสัตว์เลี้ยง

          สรุปคือ ความหมายของ smart home ในทางสากลนั้นจะมองในเชิงโครงสร้างคือจะเป็น smart home ได้ต้องมีโครงสร้าง 3 ส่วนคือเริ่มจากอุปกรณ์ที่เป็น smart device และอุปกรณ์เหล่านั้นต้องสามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้ที่เรียกว่า smart home network และสุดท้ายคือต้องมีส่วนควบคุมหลักที่เป็นมันสมองของบ้านซึ่งเราสามารถเขียนโปรแกรมให้บ้านของเรามีความฉลาดแบบใดก็ได้ตามที่เราต้องการที่เรียกว่า intelligent control system เหล่านี้จึงจะประกอบรวมเรียกว่าเป็น smart home

          งานวิจัยของ smart home ในปัจจุบันจะเป็นการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน สามารถแบ่งกลุ่มงานวิจัยออกได้เป็น 4 กลุ่ม ตามความต้องการคือ

1. เพื่อความสะดวกสบาย งานวิจัยพวกนี้จะเป็นระบบอัตโนมัตต่าง ๆ เช่นประตูอัตโนมัติ, รีโมทอัจฉริยะ ซึ่งสินค้าที่มีในท้องตลาดส่วนใหญ่ก็จะเป็นในกลุ่มนี้
2. เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จะเป็นงานวิจัยในการเพิ่มความสามารถให้กับกล้องวงจรปิดคือนอกจากจะทำการบันทึกภาพอย่างเดียวแล้ว แต่ยังรวมเซนเซอร์ต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ในการตรวจตราเช่นเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว และเพิ่มระบบการขับไล่ผู้ร้ายด้วยการเชื่อมต่อกับ alarm หรือแจ้งไปยังสถานีตำรวจ นั่นคือเพิ่มความสามารถในการช่วยระงับเหตุเข้ามาด้วย ซึ่งสินค้าในท้องตลาดในกลุ่มนี้ก็มีเช่นกัน
3. เพื่อประหยัดพลังงาน เช่นการเปิดปิดไฟอัตโนมัติตามแสงอาทิตย์ หรือปิดไฟอัตโนมัติเมื่อไม่มีคนอยู่ รวมไปถึงการบริหารจัดการพลังงานในกรณีที่ติดตั้งแผงวงจรโซลาร์เซลล์
4. เพื่อดูแลสุขภาพของผู้อาศัยภายในบ้าน เช่นจะติดตั้งเซนเซอร์ตรวจคลื่นหัวใจ ตรวจจับไฟไหม้ โดยส่งสัญญาณ เมื่อเวลาเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ


ภาพจาก http://www.imsresearch.com


เรียบเรียงข้อมูลโดย อรรถพล กัณหเวก
ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา
บริษัท อาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด
Email : attapon@arm.co.th
www.arm.co.th



 
ARM CORPORATION
บริษัท อาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด
สำนักงาน02-003-9497
ฝ่ายขาย086-322-8675
ฝ่ายเซอร์วิส096-678-1319
ฝ่ายเทคนิค095-176-5334
ไลน์ไอดี@armcorp
อีเมลsales@arm.co.th

OUR PRODUCTS

ประตูอัตโนมัติ

บานเลื่อน STANLEY
บานเลื่อน ARM150
บานเลื่อน ARM200
บานเลื่อน ARM250
บานเลื่อนกึ่งอัตโนมัติ ARM-SE
บานสวิง ARM100
บานซ้อน ARM-TE2 & ARM-TE4
อุปกรณ์เสริม (Accessories)

ประตูรั้วอัตโนมัติ

GENIUS Falcon M14 & M20
LIFE Sliding Gate Motor

ล็อกเกอร์อัจฉริยะ

ล็อกเกอร์รับฝากพัสดุ
ล็อกเกอร์รับฝากซักผ้า
ล็อกเกอร์จัดเก็บสิ่งของ
ล็อกเกอร์ความปลอดภัยสูง
ล็อกเกอร์ขายสินค้า
ล็อกเกอร์จัดเก็บจดหมาย/เอกสาร
สั่งผลิตตู้ล็อกเกอร์

ACCESS CONTROL

HIP BRAND
เครื่องทาบบัตร RFID Reader Card
เครื่องสแกนลายนิ้วมือ Fingerprint
เครื่องสแกนใบหน้า Face Scan

ACCESS CONTROL

ZKTECO BRAND
เครื่องทาบบัตร RFID Reader Card
เครื่องสแกนลายนิ้วมือ Fingerprint
เครื่องสแกนใบหน้า Face Scan

ABOUT COMPANY

เกี่ยวกับบริษัท
ติดต่อบริษัท
ตัวอย่างงานติดตั้ง
ทัวร์เสมือนจริง
ความรู้เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติ
Sitemap
สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ความรู้เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติ

ความหมายของ Smart Home


ภาพจาก http://www.radiohannibal.com
          ท่านเคยได้ยินคำว่า "smart home" หรือ "smart building" หรือไม่? ซึ่งในภาษาไทยก็จะใช้คำว่า "บ้านอัจฉริยะ" หรือ "อาคารอัจฉริยะ" ซึ่งแตกต่างกับ "green building" (อาคารสีเขียว คืออาคารที่สร้างอยู่บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีการกำจัดของเสียหรือมลพิษต่าง ๆ ที่เกิดจากผู้อยู่อาศัยในอาคารก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก และมีการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้น้ำ ใช้ไฟ อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ หรืออาจมีการใช้พลังงานทดแทน เช่นแสงแดดหรือลมมาช่วยลดการใช้พลังงานในอาคาร คือมองในมุมของพลังงานและสิ่งแวดล้อม) ส่วน smart home หรือบ้านอัจฉริยะนั้น เราก็จะตีความคำว่าอัจฉริยะนั่นก็หมายถึงการนำระบบอัตโนมัติต่าง ๆ เข้ามาใช้ภายในบ้านเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความสะดวกสบาย รู้สึกปลอดภัย หรือช่วยประหยัดพลังงานได้ เพียงเท่านั้น ซึ่งยังคลาดเคลื่อนกับความหมายจริง

ความหมายของ Smart Home ของคนไทย

          ซึ่งการจะเป็นบ้านอัจฉริยะ ความหมายในบ้านเราที่ใช้กันนั้น มีความหมายที่กว้างคืออาจจะเป็นบ้านที่มีระบบอัตโนมัติเล็ก ๆ ที่เรียกว่า user control(ผู้อยู่อาศัยสามารถปรับเปลี่ยนฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของบ้านให้ตอบสนองความต้องการของตนได้ด้วยตัวของผู้อยู่อาศัยเอง) จนไปถึงระบบอัตโนมัติที่เต็มรูปแบบที่เรียกว่า rule-based control คือบ้านจะมีระบบควบคุมที่สามารถตรวจจับค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ภายในบ้านแล้วทำการปรับเปลี่ยนหรือตอบสนองต่อความต้องการของผู้อยู่อาศัยได้โดยอัตโนมัติ(ซึ่งระบบที่เต็มรูปแบบนี้ยังอยู่ในขั้นตอนของงานวิจัยซึ่งบริษัทหลาย ๆ แห่งในต่างประเทศได้เซตห้องแลปขึ้นเพื่อทำการวิจัยด้านนี้โดยเฉพาะ) นั่นคือเราเข้าใจว่าหากบ้านของเรามีระบบอัตโนมัติแค่นิด ๆ หน่อย ๆ เราก็ถือว่าบ้านของเราเป็นบ้านอัจฉริยะแล้ว เช่นอาจมีระบบประตูอัตโนมัติ หรือมีระบบรีโมทช่วยควบคุมการเปิดปิดอุปกรณ์ทุกอย่าง หรือเพียงติดตั้งกล้องวงจรปิดก็คิดว่าบ้านของเรานี่เป็น smart home แล้ว ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ลวกหยาบเกินไป


ภาพจาก http://nutihouse.com

ความหมายของ smart home ที่เป็นสากลทั่วโลก

          ปี 2003 Housing Learning & Improvement Network ได้ตีพิมพ์คำจำกัดความของ smart home ซึ่งถูกนำเสนอโดย Intertek ว่าหมายถึง การรวมโครงข่ายการสื่อสาร(communication network) ของที่อยู่อาศัยรวมเข้าด้วยกันเพื่อเชื่อมต่อเครื่องใช้ไฟฟ้า การบริการ การตรวจตราดูแล รวมทั้งสามารถเข้าถึงการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้(โดยการควบคุมอาจหมายถึงการควบคุมทั้งที่เกิดจากทั้งภายในที่อยู่อาศัยเองหรือถูกควบคุมจากภายนอกก็ได้) นั่นคือบ้านหรือที่อยู่อาศัยที่จะเรียกว่าบ้านอัจฉริยะหรือ smart home จะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการคือ

          1. มี Smart Home Network คือระบบพื้นฐานของ smart home อาจเป็นการเดินสายหรือไร้สายก็ได้ ประกอบด้วย
               1.1 Power line System(X10) เป็น protocol ที่ใช้สื่อสารระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบ home automation ถูกพัฒนาการอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับแหล่งจ่ายไฟหลักได้โดยตรง เป็นระบบที่ง่ายในการ config ทำงานได้เร็วและราคาถูก โดยข้อเสียหลัก ๆ ของระบบนี้คือการรบกวนค่อนข้างมาก
               1.2 Bus line(EIB,Cebus) ใช้สาย 12volt แยกออกมา(ตีเกลียว) เพื่อรับส่งข้อมูลกับอุปกรณ์ เป็นอิสระจากแหล่งจ่ายไฟ เพื่อป้องกันการรบกวน
               1.3 Radio frequency(RF) และ Infrared(IR) system เป็นระบบที่ใช้กันมาก ผู้ผลิตส่วนใหญ่มักใช้ระบบนี้ในอุปกรณ์ smart home แต่ระบนี้ก็ยังมีปัญหาอันเกิดจากการรบกวนสัญญาณและระยะทางในการส่งสัญญาณ

          2. มี Intelligent Control System คือ ระบบการควบคุมระบบอัจฉริยะที่มีความชาญฉลาด
               2.1 เป็นเสมือนสะพานเชื่อมต่อระหว่างเทคโนโลยีที่แตกต่างกันของุปกรณ์ภายในบ้าน
               2.2 เป็นเสมือน gateway เพื่อเชื่อมต่อกับบริการที่อยู่ภายนอกบ้าน

          3. มี Home Automation Device คือ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ เช่น
               3.1 smart refrigerator คือ ตู้เย็นอัจฉริยะสามารถบอกได้ว่ามีอาหารอะไรกี่อย่างอยู่ภายในตู้เย็น อีกทั้งยังบอกได้ว่าอาหารจะหมดอายุเมื่อไหร่
               3.2 smart sofa คือโซฟาที่สามารถปรับความอ่อนแข็งได้ตามสรีระและความพอใจของแต่ล่ะคน
               3.3 smart bathroom คือห้องน้ำอัจฉริยะ ที่สามารถควบคุมอุณภูมิ เสียง แสง และกลิ่นภายในห้องน้ำได้
               3.4 smart door คือประตูอัตโนมัติ ที่สามารถตรวจจับใบหน้าของสมาชิกภายในบ้ายแล้วทำการเปิดปิดเองโดยอัตโนมัติ
               3.5 smart remote คือรีโมทที่สามารถควบคุมอุปกรณ์ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านทั้งหมด
               3.6 security system คือระบบรักษาความปลอดภัยที่ไม่ใช่เป็นเพียงกล้องที่บันทึกเหตุเท่านั้น แต่ยังมีเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว และไซเรนเพื่อส่งเสียงในการระงับเหตุ
               3.7 robot ปัจจุบันได้มีการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ภายในบ้านเช่น หุ่นยนต์ดูดฝุ่น หุ่นยนต์ให้อาหารสัตว์เลี้ยง

          สรุปคือ ความหมายของ smart home ในทางสากลนั้นจะมองในเชิงโครงสร้างคือจะเป็น smart home ได้ต้องมีโครงสร้าง 3 ส่วนคือเริ่มจากอุปกรณ์ที่เป็น smart device และอุปกรณ์เหล่านั้นต้องสามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้ที่เรียกว่า smart home network และสุดท้ายคือต้องมีส่วนควบคุมหลักที่เป็นมันสมองของบ้านซึ่งเราสามารถเขียนโปรแกรมให้บ้านของเรามีความฉลาดแบบใดก็ได้ตามที่เราต้องการที่เรียกว่า intelligent control system เหล่านี้จึงจะประกอบรวมเรียกว่าเป็น smart home

          งานวิจัยของ smart home ในปัจจุบันจะเป็นการวิจัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน สามารถแบ่งกลุ่มงานวิจัยออกได้เป็น 4 กลุ่ม ตามความต้องการคือ

1. เพื่อความสะดวกสบาย งานวิจัยพวกนี้จะเป็นระบบอัตโนมัตต่าง ๆ เช่นประตูอัตโนมัติ, รีโมทอัจฉริยะ ซึ่งสินค้าที่มีในท้องตลาดส่วนใหญ่ก็จะเป็นในกลุ่มนี้
2. เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จะเป็นงานวิจัยในการเพิ่มความสามารถให้กับกล้องวงจรปิดคือนอกจากจะทำการบันทึกภาพอย่างเดียวแล้ว แต่ยังรวมเซนเซอร์ต่าง ๆ เข้ามาเพื่อใช้ในการตรวจตราเช่นเซนเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว และเพิ่มระบบการขับไล่ผู้ร้ายด้วยการเชื่อมต่อกับ alarm หรือแจ้งไปยังสถานีตำรวจ นั่นคือเพิ่มความสามารถในการช่วยระงับเหตุเข้ามาด้วย ซึ่งสินค้าในท้องตลาดในกลุ่มนี้ก็มีเช่นกัน
3. เพื่อประหยัดพลังงาน เช่นการเปิดปิดไฟอัตโนมัติตามแสงอาทิตย์ หรือปิดไฟอัตโนมัติเมื่อไม่มีคนอยู่ รวมไปถึงการบริหารจัดการพลังงานในกรณีที่ติดตั้งแผงวงจรโซลาร์เซลล์
4. เพื่อดูแลสุขภาพของผู้อาศัยภายในบ้าน เช่นจะติดตั้งเซนเซอร์ตรวจคลื่นหัวใจ ตรวจจับไฟไหม้ โดยส่งสัญญาณ เมื่อเวลาเกิดเหตุการณ์ที่ผิดปกติ


ภาพจาก http://www.imsresearch.com


เรียบเรียงข้อมูลโดย อรรถพล กัณหเวก
ผู้จัดการฝ่ายวิจัยและพัฒนา
บริษัท อาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด
Email : attapon@arm.co.th
www.arm.co.th



 



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024
บริษัท อาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด