ARM CORPORATION
THE EXPERT OF SMART HOME SYSTEM
ผู้เชี่ยวชาญระบบอาคารอัจฉริยะ
Customer Service
086 322 8675
ขอใบเสนอราคา
ชื่อนามสกุล
เบอร์โทรศัพท์
ข้อมูลติดต่อ
สถานที่ติดต่อบริษัท อาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด
เบอร์มือถือ086-322-8675 (คุณนิชา)
เบอร์โทรศัพท์02-003-9497
อีเมลติดต่อsales@arm.co.th
Line ID.@armcorp

ระบบเข้าออกประตู ACCESS CONTROL

แนะนำสินค้าและบริการ

ระบบ Access Control ZKTeco

รับติดตั้งระบบ Access Control ควบคุมการเข้าออกประตู สำหรับอาคาร ร้านค้า สำนักงาน ที่พักอาศัย ตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต อำนวยความสะดวกสบาย อีกทั้งยังช่วยดูแลชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยภายในอาคารต่างๆ

แนะนำระบบ Access Control
          จะดีหรือไม่หากว่าเราสามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าออกประตูให้เฉพาะกับบุคคลที่เราต้องการให้เข้าออกเท่านั้น ไม่เพียงเฉพาะในออฟฟิศ สำนักงานเท่านั้นที่มีความจำเป็น แม้ในอาคารบ้านเรือนก็มีความจำเป็น เพราะคุณอาจจะเผอเรอลืมล๊อคประตูก็เป็นได้ อันอาจจะนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยของสมาชิกในครอบครัว ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบ access control เข้ามาช่วยเหลือ
          ระบบ access control คือระบบในการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าและออกโดยแสดงส่วนประกอบของระบบดังรูป


ภาพแสดงส่วนประกอบของระบบ access control


1.  ชุดล๊อคประตู
 
ในระบบ access control นั้นเป็นการกำหนดสิทธิ์ให้เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นจึงจะมิสิทธิ์ผ่านเข้าไปได้ ดังนั้นในสถานะปกติของประตูจึงต้องอยู่ในสถานะประตูถูกล๊อค ซึ่งในการล๊อคนั้นมีสิ่งที่ต้องพิจารณาหลายอย่าง ดังนี้

1.1 ลักษณะของประตูเป็นแบบไหน
หากเป็นลักษณะประตูไม้ ประตูกรอบอลูมิเนียม หรือประตู PVC ทั่วไปก็สามารถใช้ชุดยึดแม่เหล็กแบบ ZL(ASL-320ZL) หรือถ้าประตูเป็นกระจกบานเปลือยก็จะต้องใช้ตัวยึดแบบคลอบกระจกที่เป็นแบบตัว U(ASL-320U) เพื่อยึดแม่เหล็กกับประตูและวงกบ
 
   
ASL-320ZL
Electro-magnetic Lock Bearer(ZL Type)
ASL-320U
Electro-magnetic Lock Bearer(U Type)

1.2 อุปกรณ์ล๊อค
ก็มีหลายแบบว่าจะใช้ล๊อคแม่เหล็กหรือใช้กลอนไฟฟ้า โดยล๊อคแม่เหล็กก็จะใช้หลักการสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อดูดกันในการล๊อค สำหรับประตูทั่วไปก็ใช้ รุ่น ASL-3202A เพราะมีแรงดูดได้ถึง 280 กก.(หมายถึงอาจต้องใช้ข้าวสาร 100 กก. 3 กระสอบมาแขวนจึงจะสามารถเอาชนะอำนาจแม่เหล็กได้) แต่ถ้าต้องการแรงดูดที่มากกว่านี้ ก็สามารถใช้รุ่น ASL-3204A ซึ่งสามารถมีแรงดูดได้ถึง 500 กก. ส่วนกลอนไฟฟ้า(ASL-3301) ก็จะมีเดือยล๊อคเมื่อมีสัญญาณไฟฟ้า คล้าย ๆ กับการล๊อคประตูทั่วไป
 
   
ASL-3202A
One-door Electro-magnetic Lock (280)
ASL-3204A
One-door Electro-magnetic Lock (500)

ASL-3301
Electric Bolt

1.3 จำนวนตัวล๊อค
ในกรณีประตูบานเดี่ยว แน่นอนว่าต้องใช้ตัวล๊อคแค่ชุดเดียว แต่ในกรณีบานคู่ก็ควรใช้ตัวล๊อค 2 ชุดเพื่อความแข็งแรง โดยการล๊อค 2 ชุดนั้นอาจจะใช้ ล๊อคแม่เหล็ก ASL-3202A จำนวน 2 ตัว(1 บานประตู ต่อตัวล๊อค 1 ชุด) หรืออาจจะใช้ล๊อคแม่เหล็กคู่ ASL-3202B ก็ได้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้กับการล๊อคของประตูบานคู่โดยเฉพาะ

ASL-3202B
Two-door Electro-magnetic Lock (280x2)


2. เครื่องสแกน
โดยทั่วไปเครื่องสแกนที่มีในท้องตลาดจะมีปุ่มกดตัวเลขมาให้ นั่นคือมีฟังก์ชั่นของการป้อนรหัสมาให้เป็นพื้นฐาน โดยสามารถกดรหัสเพื่อสั่งปลดล๊อคประตูได้ แต่โดยทั่วไปการกดรหัสเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะหากมีใครแอบดูหรือแอบจำรหัสของเราก็จะสามารถเปิดประตูได้ ดังนั้นอาจจะต้องมีอุปกรณ์อื่นเพื่อเพิ่มระดับของความปลอดภัย นั่นคือ

2.1 เครื่องทาบบัตร
จะเป็นสินค้าในหมวดของ Anson คือ สามารถใช้การกดรหัสเพียงอย่างเดียวหรืออาจะใช้คู่กับการทาบบัตรในการปลดล๊อคเพื่อเปิดประตูได้ โดยเครื่องทาบบัตรก็มี 2 แบบ คือแบบที่ไม่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ หรือเรียกว่าแบบ stand alone(ASI-8910 และ ASI-312E/W) ซึ่งจะมีหน้าที่เพียงปลดล๊อคแม่เหล็กเพื่อเปิดประตูเท่านั้น แต่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลการเข้ามาของพนักงานได้ ดังนั้นหากเราต้องการเพียงแค่การเปิดประตูเท่านั้นก็สามารถเลือกสินค้าตัวนี้ เพราะมีราคาที่ไม่แพง ส่วนเครื่องที่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้นั้นก็จะสามารถบันทึกข้อมูลการสแกนของพนักงานได้

2.2 เครื่องทาบบัตร + เครื่องสแกนลายนิ้วมือ
ในบางครั้งบัตรของเราอาจถูกหยิบยืมไปใช้หรือตกไปอยู่ในมือของคนอื่น เค้าก็จะเปิดประตูได้อีกเช่นกัน ดังนั้นสแกนนิ้วมือจึงเพิ่มเข้ามาเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยจะเป็นสินค้าในหมวดของ HIP คือตัวเครื่องจะมีโหมดในการกำหนดการปลดล๊อคแม่เหล็กได้ถึง 7 รูปแบบ(กำหนดได้ที่ตัวเครื่องแสกน) นั่นคือ
- ใช้รหัสอย่างเดียว
- ใช้ทาบบัตรอย่างเดียว
- ใช้สแกนนิ้วมืออย่างเดียว
- ใช้รหัสและทาบบัตร ร่วมกัน
- ใช้รหัสและสแกนนิ้วมือ ร่วมกัน
- ใช้ทาบบัตรและสแกนนิ้วมือ ร่วมกัน
- ใช้ทั้งการกดรหัสร่วมกับทาบบัตรและสแกนนิ้วมือ

Anson HIP

3. การใช้ Flash Drive เพื่อบันทึกข้อมูล
โดยฟังก์ชันนี้จะมีในเครื่องของ HIP เพราะ HIP จะมีพอร์ต usb และพอร์ต TCP/IP มาให้ด้วย แต่ในขณะที่ของ Anson จะไม่มีพอร์ต usb มาให้ จะมีเฉพาะพอร์ต RS485 และ TCP/IP ให้มา ซึ่งจะทำให้เครื่องของ HIP มีความสามารถที่เพิ่มขึ้นมาคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะของ off-line นั่นคือ เราสามารถ download log file บันทึกการเข้าออกของพนักงานลงใน flash drive ได้แล้วสามาถนำ log file นั้นมาลง computer เพื่อบันทึกเวลาการเข้าออกของพนักงานได้

4. การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะ on-line
คือเพื่อมีการเข้าออกของพนักงานก็จะสามารถแสดงการเข้าออก ณ เวลาปัจจุบันที่เวลาจริง(real time) โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทางพอร์ต RS485(ต้องมีอุปกรณ์แปลงจาก RS485 เป็น RS232) หรือ TCP/IP

5. โปรแกรม
ในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยโปรแกรมเพื่อทำการกำหนดค่าต่าง ๆ และบันทึกข้อมูลการเข้าออกของพนักงาน โดยโปรแกรมจะสามารถบันทึกเวลาการเข้า ออก กำหนดกะการทำงาน กำหนดช่วงเวลาโอที แสดงรายงานของพนักงาน เป็นต้น

6. สวิตซ์กดออก
ในการเข้าประตู เมื่อเข้ามาด้วยเครื่องแสกนก็จะมีการบันทึกข้อมูลการเข้ามา ส่วนในการออกไปก็สามารถออกไปได้ 2 รูปแบบคือ

6.1 ออกไปด้วยการกดปุ่มออก
นั่นคือการกดสวิตซ์เพื่อปลดล๊อคแม่เหล็กแล้วออกไป การออกไปในลักษณะนี้นั้นจะไม่มีการบันทึกข้อมูลในการออก โดยสวิตซ์ที่กดก็มีหลากกลายรูปแบบ เช่นสวิตซ์กดสัมผัส แต่ในบางสถานที่ที่ไม่ต้องการให้มีการสัมผัสเพราะห่วงเรื่องความสะอาดเช่นโรงงานอาหาร โรงงานยา หรือโรงพยาบาล อาจใช้สวิตซ์ที่ไม่มีการสัมผัสที่เรียกว่า no touch switch หรืออาจจะใช้ remote ในการเปิดก็ได้

6.2 ออกไปด้วยการทาบบัตรกับ Reader
วิธีนี้จะสามารถบันทึกเวลาในการออกได้ผ่านตัวอ่านบัตรที่เรียกว่า reader ซึ่งจะมีแบบต่าง ๆ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องทาบบัตรอีกเครื่องในการบันทึกเวลาเข้าออก ซื้อเพียงเฉพาะ reader เท่านั้น ซึ่ง reader จะเชื่อมต่อกับเครื่องสแกนด้านหน้าและบันทึกข้อมูลการออกไว้ในเครื่องสแกน


7. ชุดแปลงไฟและแบตเตอรี่
โดยปกติเครื่องทาบบัตรจะใช้กระแสไฟตรง 12 โวลท์ แต่ไฟในบ้านเป็นไฟสลับ 220 โวลท์ ดังนั้นจึงต้องมี อุปกรณ์อีกตัวหนึ่งที่เป็นตู้ควบคุมโดยในตู้ควบคุมจะประกอบด้วย

7.1 ชุดแปลงไฟ
จะแปลงไฟบ้านให้ได้ระดับไฟที่เหมาะกับเครื่องสแกน

7.2 แบตเตอรี่
จะช่วยจ่ายไฟให้ระบบ กรณีที่ไฟดับ เพื่อให้ล๊อคแม่เหล็กยังสามารถทำงานและเครื่องสแกนจะยังสามารถเก็บข้อมูลอยู่ได้แม้ไฟจะดับก็ตาม
ASCB-630P
Power Supply 12V-5A
ASCB-630L
Power Supply 12V-5A


ระบบเครื่องทาบบัตรในลิฟท์

ตัวอย่างการติดตั้ง

Tags :
ARM CORPORATION
บริษัท อาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด
สำนักงาน02-003-9497
ฝ่ายขาย086-322-8675
ฝ่ายเซอร์วิส096-678-1319
ฝ่ายเทคนิค095-176-5334
ไลน์ไอดี@armcorp
อีเมลsales@arm.co.th

OUR PRODUCTS

ประตูอัตโนมัติ

บานเลื่อน STANLEY
บานเลื่อน ARM150
บานเลื่อน ARM200
บานเลื่อน ARM250
บานเลื่อนกึ่งอัตโนมัติ ARM-SE
บานสวิง ARM100
บานซ้อน ARM-TE2 & ARM-TE4
อุปกรณ์เสริม (Accessories)

ประตูรั้วอัตโนมัติ

GENIUS Falcon M14 & M20
LIFE Sliding Gate Motor

ล็อกเกอร์อัจฉริยะ

ล็อกเกอร์รับฝากพัสดุ
ล็อกเกอร์รับฝากซักผ้า
ล็อกเกอร์จัดเก็บสิ่งของ
ล็อกเกอร์ความปลอดภัยสูง
ล็อกเกอร์ขายสินค้า
ล็อกเกอร์จัดเก็บจดหมาย/เอกสาร
สั่งผลิตตู้ล็อกเกอร์

ACCESS CONTROL

HIP BRAND
เครื่องทาบบัตร RFID Reader Card
เครื่องสแกนลายนิ้วมือ Fingerprint
เครื่องสแกนใบหน้า Face Scan

ACCESS CONTROL

ZKTECO BRAND
เครื่องทาบบัตร RFID Reader Card
เครื่องสแกนลายนิ้วมือ Fingerprint
เครื่องสแกนใบหน้า Face Scan

ABOUT COMPANY

เกี่ยวกับบริษัท
ติดต่อบริษัท
ตัวอย่างงานติดตั้ง
ทัวร์เสมือนจริง
ความรู้เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติ
Sitemap
สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 บริษัท อาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ระบบเข้าออกประตู (ACCESS CONTROL)

แนะนำสินค้าและบริการ
ระบบ Access Control ZKTeco

รับติดตั้งระบบ Access Control ควบคุมการเข้าออกประตู สำหรับอาคาร ร้านค้า สำนักงาน ที่พักอาศัย ตลอดจนโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิต อำนวยความสะดวกสบาย อีกทั้งยังช่วยดูแลชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยภายในอาคารต่างๆ

แนะนำระบบ Access Control

          จะดีหรือไม่หากว่าเราสามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าออกประตูให้เฉพาะกับบุคคลที่เราต้องการให้เข้าออกเท่านั้น ไม่เพียงเฉพาะในออฟฟิศ สำนักงานเท่านั้นที่มีความจำเป็น แม้ในอาคารบ้านเรือนก็มีความจำเป็น เพราะคุณอาจจะเผอเรอลืมล๊อคประตูก็เป็นได้ อันอาจจะนำมาซึ่งความไม่ปลอดภัยของสมาชิกในครอบครัว ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบ access control เข้ามาช่วยเหลือ
          ระบบ access control คือระบบในการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าและออกโดยแสดงส่วนประกอบของระบบดังรูป


ภาพแสดงส่วนประกอบของระบบ access control


1.  ชุดล๊อคประตู

ในระบบ access control นั้นเป็นการกำหนดสิทธิ์ให้เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นจึงจะมิสิทธิ์ผ่านเข้าไปได้ ดังนั้นในสถานะปกติของประตูจึงต้องอยู่ในสถานะประตูถูกล๊อค ซึ่งในการล๊อคนั้นมีสิ่งที่ต้องพิจารณาหลายอย่าง ดังนี้

1.1 ลักษณะของประตูเป็นแบบไหน
หากเป็นลักษณะประตูไม้ ประตูกรอบอลูมิเนียม หรือประตู PVC ทั่วไปก็สามารถใช้ชุดยึดแม่เหล็กแบบ ZL(ASL-320ZL) หรือถ้าประตูเป็นกระจกบานเปลือยก็จะต้องใช้ตัวยึดแบบคลอบกระจกที่เป็นแบบตัว U(ASL-320U) เพื่อยึดแม่เหล็กกับประตูและวงกบ
ASL-320ZL
Electro-magnetic Lock Bearer(ZL Type)
ASL-320U
Electro-magnetic Lock Bearer(U Type)

1.2 อุปกรณ์ล๊อค
ก็มีหลายแบบว่าจะใช้ล๊อคแม่เหล็กหรือใช้กลอนไฟฟ้า โดยล๊อคแม่เหล็กก็จะใช้หลักการสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อดูดกันในการล๊อค สำหรับประตูทั่วไปก็ใช้ รุ่น ASL-3202A เพราะมีแรงดูดได้ถึง 280 กก.(หมายถึงอาจต้องใช้ข้าวสาร 100 กก. 3 กระสอบมาแขวนจึงจะสามารถเอาชนะอำนาจแม่เหล็กได้) แต่ถ้าต้องการแรงดูดที่มากกว่านี้ ก็สามารถใช้รุ่น ASL-3204A ซึ่งสามารถมีแรงดูดได้ถึง 500 กก. ส่วนกลอนไฟฟ้า(ASL-3301) ก็จะมีเดือยล๊อคเมื่อมีสัญญาณไฟฟ้า คล้าย ๆ กับการล๊อคประตูทั่วไป
 
ASL-3202A
One-door Electro-magnetic Lock (280)
ASL-3204A
One-door Electro-magnetic Lock (500)

ASL-3301
Electric Bolt

1.3 จำนวนตัวล๊อค
ในกรณีประตูบานเดี่ยว แน่นอนว่าต้องใช้ตัวล๊อคแค่ชุดเดียว แต่ในกรณีบานคู่ก็ควรใช้ตัวล๊อค 2 ชุดเพื่อความแข็งแรง โดยการล๊อค 2 ชุดนั้นอาจจะใช้ ล๊อคแม่เหล็ก ASL-3202A จำนวน 2 ตัว(1 บานประตู ต่อตัวล๊อค 1 ชุด) หรืออาจจะใช้ล๊อคแม่เหล็กคู่ ASL-3202B ก็ได้ ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้กับการล๊อคของประตูบานคู่โดยเฉพาะ

ASL-3202B
Two-door Electro-magnetic Lock (280x2)


2. เครื่องสแกน
โดยทั่วไปเครื่องสแกนที่มีในท้องตลาดจะมีปุ่มกดตัวเลขมาให้ นั่นคือมีฟังก์ชั่นของการป้อนรหัสมาให้เป็นพื้นฐาน โดยสามารถกดรหัสเพื่อสั่งปลดล๊อคประตูได้ แต่โดยทั่วไปการกดรหัสเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะหากมีใครแอบดูหรือแอบจำรหัสของเราก็จะสามารถเปิดประตูได้ ดังนั้นอาจจะต้องมีอุปกรณ์อื่นเพื่อเพิ่มระดับของความปลอดภัย นั่นคือ

2.1 เครื่องทาบบัตร
จะเป็นสินค้าในหมวดของ Anson คือ สามารถใช้การกดรหัสเพียงอย่างเดียวหรืออาจะใช้คู่กับการทาบบัตรในการปลดล๊อคเพื่อเปิดประตูได้ โดยเครื่องทาบบัตรก็มี 2 แบบ คือแบบที่ไม่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้ หรือเรียกว่าแบบ stand alone(ASI-8910 และ ASI-312E/W) ซึ่งจะมีหน้าที่เพียงปลดล๊อคแม่เหล็กเพื่อเปิดประตูเท่านั้น แต่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลการเข้ามาของพนักงานได้ ดังนั้นหากเราต้องการเพียงแค่การเปิดประตูเท่านั้นก็สามารถเลือกสินค้าตัวนี้ เพราะมีราคาที่ไม่แพง ส่วนเครื่องที่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ได้นั้นก็จะสามารถบันทึกข้อมูลการสแกนของพนักงานได้

2.2 เครื่องทาบบัตร + เครื่องสแกนลายนิ้วมือ
ในบางครั้งบัตรของเราอาจถูกหยิบยืมไปใช้หรือตกไปอยู่ในมือของคนอื่น เค้าก็จะเปิดประตูได้อีกเช่นกัน ดังนั้นสแกนนิ้วมือจึงเพิ่มเข้ามาเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยจะเป็นสินค้าในหมวดของ HIP คือตัวเครื่องจะมีโหมดในการกำหนดการปลดล๊อคแม่เหล็กได้ถึง 7 รูปแบบ(กำหนดได้ที่ตัวเครื่องแสกน) นั่นคือ
- ใช้รหัสอย่างเดียว
- ใช้ทาบบัตรอย่างเดียว
- ใช้สแกนนิ้วมืออย่างเดียว
- ใช้รหัสและทาบบัตร ร่วมกัน
- ใช้รหัสและสแกนนิ้วมือ ร่วมกัน
- ใช้ทาบบัตรและสแกนนิ้วมือ ร่วมกัน
- ใช้ทั้งการกดรหัสร่วมกับทาบบัตรและสแกนนิ้วมือ

Anson HIP

3. การใช้ Flash Drive เพื่อบันทึกข้อมูล
โดยฟังก์ชันนี้จะมีในเครื่องของ HIP เพราะ HIP จะมีพอร์ต usb และพอร์ต TCP/IP มาให้ด้วย แต่ในขณะที่ของ Anson จะไม่มีพอร์ต usb มาให้ จะมีเฉพาะพอร์ต RS485 และ TCP/IP ให้มา ซึ่งจะทำให้เครื่องของ HIP มีความสามารถที่เพิ่มขึ้นมาคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะของ off-line นั่นคือ เราสามารถ download log file บันทึกการเข้าออกของพนักงานลงใน flash drive ได้แล้วสามาถนำ log file นั้นมาลง computer เพื่อบันทึกเวลาการเข้าออกของพนักงานได้

4. การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ในลักษณะ on-line
คือเพื่อมีการเข้าออกของพนักงานก็จะสามารถแสดงการเข้าออก ณ เวลาปัจจุบันที่เวลาจริง(real time) โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทางพอร์ต RS485(ต้องมีอุปกรณ์แปลงจาก RS485 เป็น RS232) หรือ TCP/IP

5. โปรแกรม
ในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์จะต้องอาศัยโปรแกรมเพื่อทำการกำหนดค่าต่าง ๆ และบันทึกข้อมูลการเข้าออกของพนักงาน โดยโปรแกรมจะสามารถบันทึกเวลาการเข้า ออก กำหนดกะการทำงาน กำหนดช่วงเวลาโอที แสดงรายงานของพนักงาน เป็นต้น

6. สวิตซ์กดออก
ในการเข้าประตู เมื่อเข้ามาด้วยเครื่องแสกนก็จะมีการบันทึกข้อมูลการเข้ามา ส่วนในการออกไปก็สามารถออกไปได้ 2 รูปแบบคือ

6.1 ออกไปด้วยการกดปุ่มออก
นั่นคือการกดสวิตซ์เพื่อปลดล๊อคแม่เหล็กแล้วออกไป การออกไปในลักษณะนี้นั้นจะไม่มีการบันทึกข้อมูลในการออก โดยสวิตซ์ที่กดก็มีหลากกลายรูปแบบ เช่นสวิตซ์กดสัมผัส แต่ในบางสถานที่ที่ไม่ต้องการให้มีการสัมผัสเพราะห่วงเรื่องความสะอาดเช่นโรงงานอาหาร โรงงานยา หรือโรงพยาบาล อาจใช้สวิตซ์ที่ไม่มีการสัมผัสที่เรียกว่า no touch switch หรืออาจจะใช้ remote ในการเปิดก็ได้

6.2 ออกไปด้วยการทาบบัตรกับ Reader
วิธีนี้จะสามารถบันทึกเวลาในการออกได้ผ่านตัวอ่านบัตรที่เรียกว่า reader ซึ่งจะมีแบบต่าง ๆ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องทาบบัตรอีกเครื่องในการบันทึกเวลาเข้าออก ซื้อเพียงเฉพาะ reader เท่านั้น ซึ่ง reader จะเชื่อมต่อกับเครื่องสแกนด้านหน้าและบันทึกข้อมูลการออกไว้ในเครื่องสแกน


7. ชุดแปลงไฟและแบตเตอรี่
โดยปกติเครื่องทาบบัตรจะใช้กระแสไฟตรง 12 โวลท์ แต่ไฟในบ้านเป็นไฟสลับ 220 โวลท์ ดังนั้นจึงต้องมี อุปกรณ์อีกตัวหนึ่งที่เป็นตู้ควบคุมโดยในตู้ควบคุมจะประกอบด้วย

7.1 ชุดแปลงไฟ
จะแปลงไฟบ้านให้ได้ระดับไฟที่เหมาะกับเครื่องสแกน

7.2 แบตเตอรี่
จะช่วยจ่ายไฟให้ระบบ กรณีที่ไฟดับ เพื่อให้ล๊อคแม่เหล็กยังสามารถทำงานและเครื่องสแกนจะยังสามารถเก็บข้อมูลอยู่ได้แม้ไฟจะดับก็ตาม
ASCB-630P
Power Supply 12V-5A
ASCB-630L
Power Supply 12V-5A


ระบบเครื่องทาบบัตรในลิฟท์

ตัวอย่างการติดตั้ง
ขอใบเสนอราคา
ชื่อนามสกุล
เบอร์โทรศัพท์



สงวนลิขสิทธิ์ © 2024
บริษัท อาร์ม คอร์ปอเรชั่น จำกัด